วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การศึกษานอกสถานที่ 

ณ   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา  จ.ชลบุรี

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ประวัติความเป็นมา                          สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม" ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 โดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน และนิสิตอีกจำนวนหนึ่ง                พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2513 และได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากตัวอาคารมีขนาดจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีมอบให้แก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ให้องค์ความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไป
                สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือชื่อที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน เป็นสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี



เมื่อวันที่ ศุกร์ ที่ 23  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555


เอกการสอนเคมี ปี 3

          เมื่่อเวลาประมาณบ่ายโมง ของวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 พวกเรานิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนเคมี ได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพากัน การทัศนศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้พวกเราเอกการสอนเคมีเหมือนกลับไปเป็นเด็กกันอีกครั้ง ดูตื่นเต้น สนุกสนานกันมาก ทั้งๆที่อยู่ในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เเวะไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์กันเลย วันนี้เหมือนเป็นวันปล่อยแก่วันนึงของพวกเราเลย ปกติที่มาชมก็ได้เเต่เดินชมเรื่อยๆ เเต่ในครั้งนี้ไม่เหมือนกัน เพราะมีพี่วิทยากรมาบรรยายถึงที่มาที่ไปของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งนี้ พวกเราได้ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน  เเละเข้าใจโลกใต้ท้องทะเลมากขึ้น เราได้รู้ว่าราชาเเละราชินีที่เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งท้องทะเลคือ ฉลามเเละทากทะเล ตามลำดับ ได้รู้ว่าการที่จะจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลต้องมีการจัดเตรียมการหลายๆอย่าง ทั้งสถานที่ น้ำทะเลที่ต้องเอามาจากสัตหีบด้วยรถขนน้ำมัน วันละ 2 รอบ เเละการเคลื่อนย้ายสัตว์ต่างๆ                   สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่พาพวกเราไปทัศนศึกษานอกสถานที่ เเละขอขอบพระคุณพี่วิทยากรที่สละเวลามาบรรยายให้กับพวกเราในวันนี้ค่ะ

ของขวัญจากใจ พวกเราสาขาการสอนเคมีค่ะ



       ไหนๆ ก็มาถึงที่เเล้วเเถมยังมีพี่วิทยากรมาบรรยายให้ฟังอีก จะกลับไปมือเปล่าก็ยังไงอยู่...



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลับูรพา

          ที่บริเวณด้านหน้าอาคารจะมีน้ำพุรูปปลาโลมา 5 ตัว ชั้นล่างบริเวณหน้าห้องจำหน่ายตั๋ว จัดแสดงโครงกระดูกวาฬแกลบ ( Balaenoptera edeni) ที่ตายในเขตน่านน้ำไทย

          ส่วนการจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งอยู่ชั้นล่าง และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล อยู่ชั้นที่ 2 แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์

          
          ชั้นล่าง เป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม จัดแสดงสัตว์น้ำต่างๆ ได้แก่
สัตว์ที่อาศัยบริเวณชายฝั่งที่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง เช่น แมงดาทะเล, ปลิงทะเล, หอยเม่น, ดาวทะเล, ปู เสฉวน, ดอกไม้ทะเล เป็นต้น
ปลาในแนวปะการังซึ่งอาศัยอยู่อย่างเกื้อกูลกัน เช่น ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล เป็นต้น
สัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่มีพิษ
ปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและบ่อฉลาม โดยเฉพาะในส่วนของปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสนใจของสถาบันแห่งนี้มาตลอด เพราะมีการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีความจุน้ำถึง 200 ตัน ที่ใช้ความหนาของกระจกถึงหนึ่งคืบ มีปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus), ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ปัจจุบันได้มีการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมซึ่งสามารถจุน้ำได้ถึง 1,000 ตัน แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่ 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน

          ชั้นบน เป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
          ช่วงแรกเป็นการแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดช เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้าน
วิทยาศาสตร์การประมง ต่อมาเป็นการแสดงถึงเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น 
แพลงก์ตอน, ฟองน้ำ, หมึก เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของนิเวศวิทยาทางทะเลและสัตว์ทะเลที่มี
ความผูกพันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย มีการจัดแสดงเครื่องมือที่ใช้ในการประมงและเรือ
ประมง เป็นต้น และพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย
เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา 08.30-16.00 น. วันหยุดราชการเปิดถึง 17.00 น. สาธิตดำน้ำให้อาหารปลาเวลา 14.30 น. วันหยุดเพิ่มรอบ 10.30 น.

อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย  ผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาท  ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่  180  บาท เด็ก 100  บาท  สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ โทร. 0 3839 1671-3

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสุขุมวิทผ่านแยกอ่างศิลา จตุจักรชลบุรี เลี้ยวขวามาทางเดียวกับบางแสน ตรงไปนิดเดียวจะเห็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลอยู่ทางซ้ายมือ

เบอร์ติดต่อ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ บางแสน)                      (038) 391671-3 ต่อ 184,126 ได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.

แผนที่การเดินทาง



เก็บตกภาพสวยๆ @______@


ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ


สร้างภาพกันหน่อย ^^



อุโมงค์สวยจัง ชอบบบบ...


   นานๆมาเที่ยวกันทีขอเเชะภาพกันหน่อย





สนุกสนานกันถ้วนหน้าจ้าา...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น