วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดเรื่อง จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน


1. เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
ตอบ
                จากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจนอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดำและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์




2. ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective)  พร้อมอธิบายความหมายของภาพ
ตอบ

                   ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุ อยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาจากที่เห็นในภาพสังเกตว่ารางรถไฟที่อยู่ใกล้สุดจะใหญ่  และเมื่อไกลออกไปจะมองเห็นรางรถไฟเล็กลงตามลำดับ
                จากภาพรางรถไฟก็เปรียบเสมือนเส้นทางเดินของชีวิตของคนเราที่ไม่มีวันรู้ว่าข้างหน้าจะเจอกับอะไรบ้าง เเต่เราก็ต้องเดินไปตามเส้นทางนั้นเพื่อประคับประคองชีวิตให้ประสบความสำเร็จเเละพบเจอกับจุดหมายปลายทางที่เราต้องการ





3. ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ
ตอบ
         เป็นการจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง จากภาพเป็นความตัดกันของสี 
       ถึงแม้บางช่วงของชีวิตจะพบเจอกับความมืดมัว เเต่ก็ยังคงมีเเสงสว่างเล็กๆให้เราเสมอ ^__________^ 



   

เเบบฝึกหัดเรื่อง จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน


1. ถ้าต้องการออกแบบเเละนำเสนอ Power Point ถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนในโบราณ ควรใช้สีใดในการออกแบบ เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ
                       สีน้ำตาลเพราะสีน้ำตาลให้ความรู้สึกถึงความเก่าแก่โบราณ แสดงถึงความมั่นคง เรียบร้อย และสะดวกสบาย


       2. ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพ พร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
        ตอบ
                     

จากภาพเเสดงให้รู้สึกถึงความสดใส สดชื่นจากสีสันของบอลลูน แฝงไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ 

         จากภาพเเสดงให้เห็นถึงบ้านที่มีสีสันสดใส ตัดกับสีของท้องฟ้าเหมือนกับอยู่ในเทพนิยาย การทำภาพให้มีสีสันสดใส เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
        
        3. ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม   (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพ พร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ          
         ตอบ    


                               จากภาพสีที่ใช้เป็นสีโทนเย็น สบายตา เมื่อมองจะรู้สึกเหมือนได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ มองไปรอบๆจะรู้สึกสบายใจ มีความสุข เหมือนกับได้เปิดมุมมองใหม่ๆให้กับตัวเอง ได้ท่องโลกกว้างมากขึ้น
  
        
   จากภาพสีที่ใช้เป็นสีน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความเก่า โบราณ ให้ความรู้สึกถึงความทรงจำในวัยเด็ก  ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่วุ่นวาย 



เเบบฝึกหัดเรื่อง โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา


1. โทรคมนาคมหมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ตอบ      
โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษรภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนาแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ โทรคมนาคมมีประโยชน์ทางการศึกษา ดังนี้
-ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
-ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
-ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
-เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
-ลดอุปสรรคเกี่ยวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
ตอบ      
Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่า ซึ่งอยู่ห่างไกลกันและทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื่อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ เช่น การส่งเอกสาร การรับ-ส่งรูปภาพ


3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
ตอบ
ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ             
ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม คือ สามารถที่จะขยายงานการเรียนการสอนไปได้กว้าง ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาน้อย และทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกล เช่น ชนบทมีโอกาสสัมผัสผู้เชี่ยวชาญในการสอนและระบบการสอนที่ควบคุมคุณภาพจากศูนย์กลาง


5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม ไทยคม
ตอบ
                สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning Television (DLTV) เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อยากให้เด็กไทยได้รับความรู้อย่างทั่วถึง ทุกภูมิภาค ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวันมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา รวมทั้งออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษช่อง81-95 ทาง UBC บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
                จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีผลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและเป็นการประหยัดงบประมาณ ตลอดจน สร้างความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยทั่วประเทศ นับเป็นการพระราชทานการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง


6. ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog










แบบฝึกหัดเรื่อง สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
       
       1.  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ
                ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ จำแนกสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาไว้ครอบคลุมสื่อ มี 6 ประเภท คือ
1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่ วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว


2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
                  สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด และสื่อมวลชนนอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนจากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถสรุปคุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
                    1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
                    2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
                     3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
                     4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
                                                4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
                     5. ความสะดวกในการรับ
                     6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก
                     จากผลกระทบที่เกิดจากสื่อมวลชนในด้านต่างๆ ดังกล่าว จำเป็นจะต้องจัดให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในทุกๆด้าน โดยจัดการศึกษา "สื่อมวลชนศึกษา" ขึ้นความหมายของสื่อมวลชนศึกษา หมายถึงการศึกษาหรือการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ การทำงาน และอิทธิพลของสื่อมวลชน ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินคุณค่าของสื่อ มีปฏิกิริยาตอบโต้สื่ออย่างมีเหตุผล สื่อมวลชนศึกษายังเป็นการฝึกทักษะการนำเสนอสื่อ การผลิตสื่อในระดับที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดข้อมูล ความคิดเห็น ความต้องการ ผ่านสื่อได้อย่างเหมาะสม


3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1111 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ 

ตอบ
         รายการ The idol : คนบันดาลใจ รายการที่ทำให้คุณมีแรงบันดาลใจ ผลักดันความคิด ความฝันให้เป็นจริง เป็นรายการที่นำเรื่องราวของบุคคลสำคัญ บุคคลที่ประสบความสำเร็จ พร้อมกับคำคม แนวทาง และความคิดต่างๆ ของบุคคลเหล่านั้น ในวงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักดนตรี นักร้อง นักแสดง ผู้ประกาศข่าว ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ นักธุรกิจ พระสงฆ์ ฯลฯ ที่นำมาเล่า ประกอบกับภาพวาดที่ทำให้เห็นภาพตาม เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนได้ อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว






วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดระหว่างเรียนครั้งที่ 2

1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์ 
ตอบ
                ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์มีความสำคัญมาก และมีความสำคัญมากต่อการศึกษาในทุกระดับและทุกสาขา การจัดสภาพแวดล้อมควรจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่อยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เช่น ห้องเรียนที่ถูกสุขลักษณะ มีแสงสว่างพอเพียง สะอาด สงบ อากาศถ่ายเท มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพเหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้ มีบรรยากาศในการเรียนที่ดี ก็จะส่งผลทางบวกต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการเรียน หากบรรยากาศเต็มไปด้วยความสกปรกรกรุงรัง สกปรก เต็มไปด้วยข้าวของที่ไม่เป็นระเบียบ ก็จะส่งผลทางลบต่อผู้เรียนทำให้บรรยากาศในการเรียนเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ผู้สอนก็จะรู้สึกท้อถอย ไม่เป็นผลดีต่อการเรียนการสอน





2. “ การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้  อุปกรณ์ต่างๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย  ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก  ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป  ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา  จัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  เพราะเหตุใด         
ตอบ       จัดอยู่ในองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะการจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้  อุปกรณ์ต่างๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย  ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวกเป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนในห้องเรียน


3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 
ตอบ
1.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ  ได้แก่ ห้องเรียนและอุปกรณ์ การจัดห้องเรียน สีเสียง แสงสว่าง อุณหภูมิการระบายอากาศในห้องเรียนและอุปกรณ์ เช่น พื้นห้อง ผนังห้อง ประตู หน้าต่าง พื้นที่ว่างภายในห้อง โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน บอร์ดความรู้ คอมพิวเตอร์ 
2.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ
         สภาพแวดล้อมทางจิตภาพที่เป็นกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทางบวก หรือลบ เช่น การจัดโต๊ะเรียนมีความแออัด และมีจำนวนน้อยกว่านิสิต 
          สภาพแวดล้อมทางจิตภาพที่เป็นบุคคล เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลเนื่องมาจากบุคลิกภาพของบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ได้แก่  บุคลิกภาพของครูที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของ นักเรียนทั้งในทางบวกและทางลบ
3.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม ได้แก่ การออกกฎ ระเบียบ การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา การแต่งกายในชุดนิสิตที่เรียบร้อย ไม่คุยกันในขณะที่ครูสอน ไม่นำของกินเข้ามาทานในห้องเรียน
4.              องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น เทคโนโลยีจึงเป็นมิติหนึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ได้แก่ การสอนโดยใช้เครื่องฉาย ใช้ power point เป็นต้น


4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย 
ตอบ
1.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ ได้แก่ จัดห้องปฏิบัติการให้มีโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เพียงพอต่อกับนักเรียน 
2.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ ได้แก่ จัดบรรยากาศภายในห้องปฏิบัติการให้น่าเรียน ไม่จัดให้นักเรียนนั่งใกล้ชิดกันมากจนเกินไป ให้สามารถเดินไปมาได้อย่างอิสระ มีอากาศถ่ายเทที่ดี 
3.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม ได้แก่ การออกกฎ ข้อบังคับ ในการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน เช่น การตรงต่อเวลา แต่งกายให้เรียบร้อยและเหมาะสมในการปฏิบัติการ ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มเข้ามารับประทานในห้อง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในห้อง มีน้ำใจ มีการเสียสละ
4.              องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ จัดสื่อการสอนก่อนให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ว่าการปฏิบัตินั้นจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร หรือหากการปฏิบัตินั้นอาจเกิดอันตรายก็จะให้นักเรียนศึกษาจากสื่อเทคโนโลยี หรือครูต้องคอยควบคุมอย่างเคร่งครัด




5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ       การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องอาศัยแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้การออกแบบพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีระบบ แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยแนวคิดสำคัญมี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
          ประการที่หนึ่ง ได้แก่ แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอนคล้องกับนโยบายนั้นๆ
          ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาอันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
          ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสารเนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
          ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
          ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน



วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดระหว่างเรียน
1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร  
                การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว เจ้าของทฤษฎี นี้คือ สกินเนอร์ (Skinner)
                ประเภทของการเสริมแรง  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  1. การเสริมแรงบวก คือ การให้ตัวเสริมแรงบวก เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้าง ทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนด เงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก 2. การเสริแรงลบ คือ การให้ตัวเสริมแรงลบ เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น เมื่ออยู่ในห้องที่อบอ้าวเราจะเปิดหน้าต่าง เปิดหน้าต่างเป็นพฤติกรรมที่กำหนด หายอบอ้าวเป็นตัวเสริมแรงลบ หรือนักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น
                การเสริมแรงทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เสริมแรงต่อเนื่อง คือเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมถูกต้อง เหมาะสมกับการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่  2. เสริมแรงเป็นบางครั้ง เหมาะสำหรับการรักษาพฤติกรรมที่เรียนรู้แล้วไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมทุกครั้ง                    
                การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
                ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
                1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
                - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน 
                - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน 
                - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม 
                - ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ 
                - กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ 
                - ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ 
                - การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์ 
                - ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน 
                2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ 
                1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
                2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
                3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
                      1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม 
                      2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน 
                      3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด 
                      4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
                      5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม

3. มีการกล่าวถึงความหมายของ สื่อการสอนประเภทวัสดุว่าเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
               ตามความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่าสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้นเป็นการสิ้นเปลืองหรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว

4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
                Edgar Dale  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า “กรวยประสบการณ์”  (Cone of  Experience)  
               ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)  เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง  เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้เห็น  ได้ยินเสียง  ได้สัมผัสด้วยตนเอง  เช่น  การเรียนจากของจริง  (Real  object)  ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ  เป็นต้น
               ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น
               ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ ใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น
               ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
               ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)  การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน  อุตสาหกรรม  เป็นต้น
               ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน
               ขั้นที่ 7 โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดีทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
                ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์ (Motion Picture) เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ
               ขั้นที่ 9 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture)  ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead  projector)  สไลด์ (Slide)  ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Overhead  projector) 
   ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol)  มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  ในการเลือกนำไปใช้  สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้  คือ  แผนภูมิ  แผนสถิติ  -ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น
               ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
               สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้ 3 ประเภท
                          1.สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non projected material)
                          2.สื่อที่ต้องฉาย (projected material)
                          3.สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio material )

6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
               สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้
                     1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
                     2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น
หุ่นจาลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์ สไลด์
                     3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จาลอง แหล่งความรู้ชุมชน

7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร

               วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อ
ราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
                ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดี


9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
               การใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ สามารถใช้ได้ 2 ลักษณะ คือ
                     1. ใช้ในห้องเรียนประกอบการอธิบาย การสาธิต หรือฝึกทักษะ
                     2. ใช้จัดแสดงเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง

10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ประเภทของวัสดุกราฟิก
                1. แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร


                    แผนภูมิเป็นทัศวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ใช้เส้น รูปทรง   สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และคำบรรยายประกอบ แผนภูมิแบ่งตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้ 9 ประเภท คือ
1.      แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Chart)
2.      แผนภูมิแบบสายธาร(Stream Chart)
3.      แผนภูมิแบบต่อเนื่อง(Flow Chart)
4.      แผนภูมิแบบองค์กร(Organization Chart)
5.      แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ(Contrast Chart)
6.      แผนภูมิแบบตาราง(Tubular Chart)
7.      แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ(Experience Chart)
8.      แผนภูมิแบบอธิบายภาพ(Achievement Chart)
9.      แผนภูมิแบบขยายส่วน(Enlarging Chart)

                2. แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข



               3. แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน


    แผนภาพ (Diagram) เป็นโสตทัศนวัสดุที่นิยมใช้แสดงความสัมพันธ์  ระบบการทำงาน โดยใช้ เส้น ภาพเหมือน ภาพลายเส้น  แผนภาพ(Diagram) แบ่งตามลักษณะองค์ประกอบได้ 3 ประเภท คือ
                              1. แผนแบบภาพลายเส้น
                              2. แผนภาพแบบรูปภาพ
                              3. แผนภาพแบบผสม   

               4.  ภาพโฆษณา (Poster)


               5. การ์ตูน (Cartoon) และ  การ์ตูนเรื่อง (Comics)


การ์ตูน (cartoon) ใช้เล่าเรื่องราว เหตุการณ์ และ ลักษณะสิ่งต่างๆ โดยใช้ตัวการ์ตูนที่เกิดจากภาพลายเส้นแทนสิ่งต่าง ๆ มีลักษณะที่น่าสนใจ  การ์ตูนมักเน้นไปในการล้อเลียน เสียดสี แสดงจุดเด่น  ลักษณะที่แสดงความเป็นการ์ตูนที่ชัดเจนคือ เนื้อหาที่แสดงออกจะประกอบด้วยบางสิ่งบางอย่างที่เกินความเป็นจริงตามธรรมชาติ
              
              6.  แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe)


               แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe) เป็นภาพและหุ่นจำลองย่อส่วนตามความเป็นจริงแสดงพื้นที่ สถานที่ และสภาพทางภูมิศาสตร์

11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
                กราฟิกทางการศึกษาหมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอด เรื่องราว แนวคิด ความรู้ข้อเท็จจริงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม หรือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน
                ความสำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา สร้างความเป็นรูปธรรมให้กับผู้เรียน ช่วยกระตุนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจได้มากว่าการฟังจากการบรรยายเพียงทางเดียว ช่วยให้ครูได้เนื้อหามากขึ้นกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อเรื่องได้ดีและนานกว่าฟังบรรยาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดและเเก้ปัญหาในการเรียนได้ดี ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน    
ประโยชน์โดยทั่วไปของวัสดุกราฟิก ต่อการเรียนการสอนนั้น  มีดังนี้
                1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านประสาทรับรู้หลายทางขึ้น
                2. ช่วยให้ครูสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
                3. ทำให้การเรียนการสอนดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วได้เนื้อหามากประหยัดเวลา
                4. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจไม่เบื่อหน่าย และร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยดี
                5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจเรียนได้เร็วและจำได้นาน
                6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆได้
                7. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น
                8. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษาลักษณะส่วนรวมของสิ่งนั้นได้
                9. ขยายสิ่งเล็กๆ ให้สะดวกต่อการศึกษาได้
                10.นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้ เช่น ภาพถ่ายของวัตถุโบราณที่ไม่มีของจริงแล้ว     
ข้อดี
                1. ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ดี
                2. ใช้ในการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการและงานประชาสัมพันธ์
                 3. สามารถนำมาประกอบเป็นวัสดุฉาย
                4. ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

ข้อจำกัด
                1. ใช้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
                2. นักเรียนหรือผู้ดูไม่เข้าใจอาจตีความผิด
                3. จำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญหรือมีทักษะทางศิลปะมาช่วยผลิต