วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดระหว่างเรียน
1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร  
                การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว เจ้าของทฤษฎี นี้คือ สกินเนอร์ (Skinner)
                ประเภทของการเสริมแรง  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  1. การเสริมแรงบวก คือ การให้ตัวเสริมแรงบวก เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้าง ทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนด เงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก 2. การเสริแรงลบ คือ การให้ตัวเสริมแรงลบ เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น เมื่ออยู่ในห้องที่อบอ้าวเราจะเปิดหน้าต่าง เปิดหน้าต่างเป็นพฤติกรรมที่กำหนด หายอบอ้าวเป็นตัวเสริมแรงลบ หรือนักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น
                การเสริมแรงทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เสริมแรงต่อเนื่อง คือเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมถูกต้อง เหมาะสมกับการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่  2. เสริมแรงเป็นบางครั้ง เหมาะสำหรับการรักษาพฤติกรรมที่เรียนรู้แล้วไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมทุกครั้ง                    
                การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
                ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
                1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
                - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน 
                - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน 
                - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม 
                - ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ 
                - กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ 
                - ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ 
                - การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์ 
                - ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน 
                2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ 
                1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
                2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
                3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
                      1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม 
                      2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน 
                      3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด 
                      4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
                      5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม

3. มีการกล่าวถึงความหมายของ สื่อการสอนประเภทวัสดุว่าเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
               ตามความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่าสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้นเป็นการสิ้นเปลืองหรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว

4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
                Edgar Dale  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า “กรวยประสบการณ์”  (Cone of  Experience)  
               ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)  เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง  เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้เห็น  ได้ยินเสียง  ได้สัมผัสด้วยตนเอง  เช่น  การเรียนจากของจริง  (Real  object)  ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ  เป็นต้น
               ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น
               ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ ใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น
               ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
               ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)  การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน  อุตสาหกรรม  เป็นต้น
               ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน
               ขั้นที่ 7 โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดีทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
                ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์ (Motion Picture) เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ
               ขั้นที่ 9 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture)  ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead  projector)  สไลด์ (Slide)  ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Overhead  projector) 
   ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol)  มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  ในการเลือกนำไปใช้  สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้  คือ  แผนภูมิ  แผนสถิติ  -ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น
               ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
               สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้ 3 ประเภท
                          1.สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non projected material)
                          2.สื่อที่ต้องฉาย (projected material)
                          3.สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio material )

6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
               สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้
                     1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
                     2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น
หุ่นจาลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์ สไลด์
                     3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จาลอง แหล่งความรู้ชุมชน

7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร

               วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อ
ราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
                ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดี


9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
               การใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ สามารถใช้ได้ 2 ลักษณะ คือ
                     1. ใช้ในห้องเรียนประกอบการอธิบาย การสาธิต หรือฝึกทักษะ
                     2. ใช้จัดแสดงเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง

10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ประเภทของวัสดุกราฟิก
                1. แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร


                    แผนภูมิเป็นทัศวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ใช้เส้น รูปทรง   สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และคำบรรยายประกอบ แผนภูมิแบ่งตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้ 9 ประเภท คือ
1.      แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Chart)
2.      แผนภูมิแบบสายธาร(Stream Chart)
3.      แผนภูมิแบบต่อเนื่อง(Flow Chart)
4.      แผนภูมิแบบองค์กร(Organization Chart)
5.      แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ(Contrast Chart)
6.      แผนภูมิแบบตาราง(Tubular Chart)
7.      แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ(Experience Chart)
8.      แผนภูมิแบบอธิบายภาพ(Achievement Chart)
9.      แผนภูมิแบบขยายส่วน(Enlarging Chart)

                2. แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข



               3. แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน


    แผนภาพ (Diagram) เป็นโสตทัศนวัสดุที่นิยมใช้แสดงความสัมพันธ์  ระบบการทำงาน โดยใช้ เส้น ภาพเหมือน ภาพลายเส้น  แผนภาพ(Diagram) แบ่งตามลักษณะองค์ประกอบได้ 3 ประเภท คือ
                              1. แผนแบบภาพลายเส้น
                              2. แผนภาพแบบรูปภาพ
                              3. แผนภาพแบบผสม   

               4.  ภาพโฆษณา (Poster)


               5. การ์ตูน (Cartoon) และ  การ์ตูนเรื่อง (Comics)


การ์ตูน (cartoon) ใช้เล่าเรื่องราว เหตุการณ์ และ ลักษณะสิ่งต่างๆ โดยใช้ตัวการ์ตูนที่เกิดจากภาพลายเส้นแทนสิ่งต่าง ๆ มีลักษณะที่น่าสนใจ  การ์ตูนมักเน้นไปในการล้อเลียน เสียดสี แสดงจุดเด่น  ลักษณะที่แสดงความเป็นการ์ตูนที่ชัดเจนคือ เนื้อหาที่แสดงออกจะประกอบด้วยบางสิ่งบางอย่างที่เกินความเป็นจริงตามธรรมชาติ
              
              6.  แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe)


               แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe) เป็นภาพและหุ่นจำลองย่อส่วนตามความเป็นจริงแสดงพื้นที่ สถานที่ และสภาพทางภูมิศาสตร์

11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
                กราฟิกทางการศึกษาหมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอด เรื่องราว แนวคิด ความรู้ข้อเท็จจริงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม หรือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน
                ความสำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา สร้างความเป็นรูปธรรมให้กับผู้เรียน ช่วยกระตุนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจได้มากว่าการฟังจากการบรรยายเพียงทางเดียว ช่วยให้ครูได้เนื้อหามากขึ้นกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อเรื่องได้ดีและนานกว่าฟังบรรยาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดและเเก้ปัญหาในการเรียนได้ดี ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน    
ประโยชน์โดยทั่วไปของวัสดุกราฟิก ต่อการเรียนการสอนนั้น  มีดังนี้
                1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านประสาทรับรู้หลายทางขึ้น
                2. ช่วยให้ครูสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
                3. ทำให้การเรียนการสอนดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วได้เนื้อหามากประหยัดเวลา
                4. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจไม่เบื่อหน่าย และร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยดี
                5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจเรียนได้เร็วและจำได้นาน
                6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆได้
                7. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น
                8. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษาลักษณะส่วนรวมของสิ่งนั้นได้
                9. ขยายสิ่งเล็กๆ ให้สะดวกต่อการศึกษาได้
                10.นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้ เช่น ภาพถ่ายของวัตถุโบราณที่ไม่มีของจริงแล้ว     
ข้อดี
                1. ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ดี
                2. ใช้ในการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการและงานประชาสัมพันธ์
                 3. สามารถนำมาประกอบเป็นวัสดุฉาย
                4. ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

ข้อจำกัด
                1. ใช้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
                2. นักเรียนหรือผู้ดูไม่เข้าใจอาจตีความผิด
                3. จำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญหรือมีทักษะทางศิลปะมาช่วยผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น